เมนู

อตสิตาเย ได้แก่ ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้งคือไม่ควรกลัว. บทว่า
ตาสํ อาปชฺชติ แปลว่า ย่อมถึงความกลัว. บทว่า ตาโส เหโส ความว่า
เพราะวิปัสสนาอย่างอ่อนที่เป็นไปอย่างนี้ว่า โน จสฺสํ โน จ เม สิยา
นี้นั้นไม่สามารถจะยึดครองความรักในตนได้ ฉะนั้นปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
จึงชื่อว่า มีความสะดุ้ง เพราะเขาคิดว่า บัดนี้เราจักขาดสูญ เราจักไม่มี
อะไรๆ จึงเห็นตนเสมือนตกไปในเหว เหมือนพราหมณ์คนหนึ่ง.
เล่ากันมาว่า พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก สวดพระธรรม
เนื่องด้วยไตรลักษณ์อยู่ใต้โลหะปราสาท. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่ง
กำลังยืนฟังธรรมอยู่ในที่แห่งหนึ่ง สังขารได้ปรากฏเป็นของว่างเปล่า.
เขาเป็นเสมือนตกไปในเหว หนีออกจากที่นั้นทางประตูที่เปิดไว้
เข้าเรือนแล้วให้ลุกนอนบนอก กล่าวว่า พ่อ เมื่อเรานึกถึงลัทธิของตน
เป็นอันฉิบหายแล้ว. บทว่า น เหโส ภิกฺขุ ตาโส ความว่า วิปัสสนาที่มี
กำลังนั้นคือที่เป็นไปอย่างนั้น ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นความสะดุ้งสำหรับ
พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ความจริงเขามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญ
หรือจักพินาศ แต่เขามีความคิดอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
และย่อมดับไป.
จบ อรรถกถาอุทานสูตรที่ 3

4. ปริวัฏฏสูตร



ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ 4



[112] กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ?

คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ โดยเวียนรอบ 4 ตาม
ความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่ง
สัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ 5
เหล่านี้ โดยเวียนรอบ 4 ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ เวียนรอบ 4 อย่างไร คือ เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิด
แห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ยิ่งซึ่ง
เวทนา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ
ความเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับ
แห่งวิญญาณ.
[113] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นไฉน. คือ มหาภูตรูป 4
และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นี้เรียกว่ารูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป
ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับแห่งรูปย่อมมีเพราะ
ความดับแห่งอาหาร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูป
อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อ

ความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง
ความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง
ข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลัง
สามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถ
เป็นของตน ความเวียนวนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น.
[114] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา 6
หมวดนี้ คือ เวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนา
เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะ
ความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
เวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง
ความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
เวทนาอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด

เพื่อความดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง
เวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่ง
เวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้
เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ
เพราะไม่ถือมั่นเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้น
ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ
ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
[115] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นไฉน. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 6 หมวดนี้ คือ ความสำคัญในรูป ความสำคัญ
ในเสียง ความสำคัญในกลิ่น ความสำคัญในรส ความสำคัญในโผฏฐัพพะ
ความสำคัญในธรรมารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับ
แห่งสัญญาย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วย
องค์ 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทา
อันให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียน
เพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
[116] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เจตนา 6 หมวดนี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา

คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารย่อมมีเพราะ
ความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
สังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
[117] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ 6 หมวดนี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณย่อมมีเพราะ
ความดับแห่งนามรูป อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง
ความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง
วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง

ความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
จบ ปริวัฏฏสูตรที่ 4

อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ 4



ในอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จตุปริวฏฺฏํ ได้แก่ความหมุนเวียน 4 อย่าง ในขันธ์แต่ขันธ์.
บทว่า รูปํ อพฺภญฺญาสึ ความว่า ได้รู้ยิ่งว่า รูปเป็นทุกขสัจ. พึงทราบ
ความด้วยอำนาจสัจจะ 4 ในบททั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. กพฬิง-
การาหารที่เป็นไปกับฉันทราคะ ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า อาหารสมุทยา
นี้. บทว่า ปฏิปนฺนา ได้แก่เป็นผู้ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตตมรรค.
บทว่า คาธนฺติ แปลว่า ตั้งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสขภูมิด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้เมื่อจะตรัสอเสขภูมิ จึงตรัสคำมี
อาทิว่า เย จ โข เกจิ ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า สุวิมุตฺตา ได้แก่พ้นด้วยดีด้วย
อรหัตตมรรค. บทว่า เกพลิโน ได้แก่มีกำลังเป็นของตน คือมีกิจที่จะ
พึงทำ. บทว่า วฏฺฏํ เตสํ นตฺถิ ปญฺญาปนาย ความว่า สมณพราหมณ์
ความปรากฏย่อมไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วฏฺฏํ